เกษตรกรชาวเชียงใหม่เห็นโอกาสในการสร้างความแปลกใหม่ให้ตลาดและเพิ่มจุดขายให้ผลิตผลของตนด้วยการปลูก “แตงกวาหอมเตย อะโรมาติก” แตงกวาสายพันธุ์ใหม่จากบริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ซึ่งเป็นแตงกวาที่มีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะตัวและใครได้ชิมเป็นต้องติดใจ
ศุภธนิศร์ ภูเวียงจันทร์ เกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรภายใต้แบรนด์ “ภูเวียง” ตัดสินใจใช้พื้นที่เกษตรกรรมของตัวเองจำนวน 5 ไร่ เพื่อปลูกแตงกวาและแตงร้านสำหรับจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าใกล้เคียงในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร โดยใช้เมล็ดพันธุ์จากเจียไต๋เป็นหลัก และเน้นเลือกสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากตลาดทั่วไปเพื่อสร้างจุดขายและความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะแตงกวาหอมเตย อะโรมาติก ซึ่งมีความหอมละมุนคล้ายกลิ่นใบเตย และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากจนแทบจะผลิตไม่ทัน
“นับตั้งแต่เริ่มปลูกและจำหน่ายแตงกวาหอมเตย อะโรมาติกมาได้ 1 ปี กระแสตอบรับถือว่าดีมาก เพราะนอกจากจุดเด่นในเรื่องกลิ่นที่หอมเหมือนใบเตยแล้ว ลูกค้ายังประทับใจในคุณภาพของผลิตผล ทั้งขนาด น้ำหนัก และสีสันที่สวยงาม รวมถึงรสชาติที่หวานอร่อยและเนื้อกรอบแน่น แม้แต่คนที่ไม่ชอบทานแตงกวา แต่เมื่อได้ลองแตงกวาหอมเตย อะโรมาติก ต่างก็ประทับใจไปตามๆ กัน” ศุภธนิศร์ กล่าว
แตงกวาหอมเตย อะโรมาติก เป็นเมล็ดพันธุ์แตงกวาสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพจากเจียไต๋ พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์แบบชีวภาพ หรือ Biotechnology ที่ทันสมัย ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค มีความพิเศษเฉพาะตัว เนื้อแตงกวามีรสชาติหวาน กรอบ มีกลิ่นหอมละมุน ปลูกง่ายและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังให้ผลิตผลสูง ที่สำคัญยังสร้างความแปลกใหม่น่าสนใจในตลาดแตงกวาจนเกิดเป็นกระแสในหมู่ผู้บริโภคที่ต่างก็อยากลอง เกษตรกรผู้ปลูกจึงมีรายได้ดีเข้ากระเป๋าตลอดทั้งปี แตงกวาหอมเตย อะโรมาติกจึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการเกษตรที่บริษัท เจียไต๋ จำกัด ตั้งใจพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค
สุภัทร เมฆิยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักวิจัยและพัฒนา บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวถึงการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์คุณภาพของเจียไต๋ ว่า “เจียไต๋ ได้คิดค้นและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ที่หลากหลาย รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยอาศัยข้อมูลความต้องการของตลาดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสายพันธุ์ ซึ่งเจียไต๋ มุ่งมั่นในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ทนทานต่อโรค เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพ และสามารถสร้างจุดขายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ช่วยสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ตามเจตนารมณ์ของเราในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ”
วิธีการปลูกแตงกวาหอมเตย อะโรมาติก สามารถปลูกต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี โดยใช้หลักปลูกพืชหมุนเวียน เมื่อเริ่มเก็บผลิตผลก็สามารถหยอดเมล็ดต่อได้ทันที เทคนิคสำคัญยังอยู่ที่การแต่งแขนง โดยให้ตัดแขนง 4 แขนงแรกทิ้ง และให้เริ่มติดผลได้ตั้งแต่แขนงข้อที่ 5 เพื่อให้เถาหลักโตไวและเป็นทรงพุ่มโปร่ง ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง แตงกวาหอมเตย อะโรมาติกสามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ประมาณ 35-38 วันหลังเพาะเมล็ด โดยผลิตผลเฉลี่ยประมาณ 5 ตันต่อไร่ และขายได้ราคาสูงสุดประมาณ 35 บาทต่อกิโลกรัมโดยเฉลี่ย (ราคาผลิตผลขึ้นกับสถานการณ์ตลาดขณะนั้น)
อีกหนึ่งความพิเศษของแตงกวาหอมเตย อะโรมาติก คือสามารถเก็บผลอ่อน ขนาดประมาณ 7-10 เซนติเมตร มารับประทานเป็นของว่างได้ ซึ่งนอกจากจะได้แตงกวารสชาติหวาน กรอบ และหอมแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย
นอกจากเคล็ดลับการปลูกแตงกวาหอมเตย อะโรมาติกแล้ว นายศุภธนิศร์ ยังได้ทิ้งท้ายแง่คิดที่ช่วยสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรของเขาด้วยว่า “สิ่งสำคัญพื้นฐานคือความขยัน ความซื่อสัตย์ และความอดทน แต่สิ่งที่ต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีกคือ ‘การควบคุมและรักษาคุณภาพสินค้า’ ผลิตผลที่จะไปสู่ตลาดต้องตรงตามปก ผู้บริโภคซื้อไปรับประทานแล้วต้องประทับใจ สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนกลับมาเป็นความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ของเรา และเราต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณนี้เสมอ”
ผู้ที่สนใจเคล็ดลับในการทำการเกษตร ติดตามข่าวสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้ทาง Facebook CHIA TAI SEED เมล็ดพันธุ์เจียไต๋:www.facebook.com/chiataiseed หรือเว็บไซต์เจียไต๋:www.chiataigroup.com
"กลิ่นหอม" - Google News
September 02, 2020 at 11:13AM
https://ift.tt/2DlXkdV
เกษตรกรยุคใหม่ ปลูกแตงกวาหอมเตย อะโรมาติก สร้างมูลค่าผลิตผลด้วยจุดขายที่แตกต่าง - ผู้จัดการออนไลน์
"กลิ่นหอม" - Google News
https://ift.tt/2zO6HBg
Home To Blog
No comments:
Post a Comment